จู่ๆ ไอริก็นึกประโยคนึงที่ว่า “ตัวเลขไม่ต้องใส่ใจมาก เอาแค่ผลลัพธ์ก็พอ”

สถานการณ์ที่เข้ากับประโยคนี้อย่างเช่น….

ในการประชุมกับคน 100 คน กำลังประชุมเลือกหัวหน้า โดยที่มีผู้สมัครอยู่ 2 คน และคุณเป็น 1 ในผู้สมัครนั้น เป้าหมายของคุณคือต้องการขึ้นมาเป็นหัวหน้า ฉะนั้นคุณแค่มีเสียงโหวต 51 เสียง คุณก็ชนะแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้ถึง 80-90 เสียง

…หรือแม้แต่…

ในการเรียนในมหาลัย เพื่อให้ได้เกียรตินิยม ก็แค่ทำเกรดให้ได้มากกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์ที่เค้ากำหนดไว้ ไม่ต้องเอาถึง 4.00 คุณก็ได้แล้ว

สำหรับไอริ ประโยคนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว

สำหรับการคิดวางแผน ประโยคนี้อาจจะใช่ แต่ในความเป็นจริง เราต้องวางแผนในเรื่องการจัดการความเสี่ยง หรือ Risk management

ในความเป็นจริง เราไม่ได้คิดวางแผนแล้วทำมันได้แบบเป๊ะๆทุกครั้งไปหรอก มันจะมีอุปสรรค(Obstacles) อยู่เสมอ

ในกรณีแรก หากเสียงที่เรามีเกิดเปลี่ยนใจไม่โหวตเรา แม้เพียง 1 เสียง เราก็มีคะแนนเท่าฝ่ายตรงข้าม ถ้ามี 2 เสียง เท่ากับว่าเราก็แพ้การโหวตนั้น วิธีการแก้คือ ก่อนวันเปิดโหวตเราอาจจะหาเสียงเพิ่ม มาแทนที่คนที่มีท่าทีลังเลที่จะโหวตเราก็ได้ อย่างน้อยก็เป็นการรับประกันได้ว่า ถึงแม้จะมีเสียงโหวตหายไปซักเสียง ยังไงเราก็ชนะอยู่ดี

ในกรณีที่สอง ถ้าหากเกรดที่เราได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ล่ะ เกิดมีคนทำได้มากกว่าเราล่ะ วิธีการแก้ก็คือเราก็ต้องอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนเพิ่มทำความเข้าใจมากขึ้น พยายามตั้งคำถามกับตัวเองบ่อยๆ เช็คความเข้าใจจากเพื่อนว่าถูกรึเปล่า วิธีนี้ก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงอีกแบบนึงค่ะ

ความมั่นใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามีมากเกินไปมันจะกลายเป็นความประมาทนะคะ

Comments 「コメント」

comments